ที่เที่ยวโดดเด่น

Main Menu

ที่เที่ยวโดดเด่น
ดอยตุง
นมัสการพระธาตุ ชมตำหนักสมเด็จย่า ซื้อสินค้าชาวเขา
ดอยตุงเป็นเทือกเขาสูงที่มีภูมิอากาศเย็นสบายและทิวทัศน์งดงามเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาสัมผัส รวมทั้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง โดยเฉพาะพระธาตุดอยตุงซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวไทย พม่า และลาว และพระตำหนักดอยตุงที่ประทับของสมเด็จย่า

ประวัติ ในอดีตดอยตุงเคยมีสภาพป่าไม้อุดมสมบูรณ์ แต่ภายหลังจากที่มีชาวไทยภูเขาอพยพเข้ามาอาศัยอยู่และประกอบอาชีพด้วยการถางป่าทำไร่เลื่อนลอย รวมทั้งบางส่วนที่ลักลอบปลูกฝิ่น เมื่อวันเวลาผ่านไปป่าไม้บนดอยตุงจึงลดลงไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดได้กลายเป็นเทือกเขาหัวโล้นสุดสายตา

ในปี พ.ศ. 2530 รัฐบาลจึงได้เริ่มจัดทำโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น เพื่อพัฒนาพื้นที่ 93,515 ไร่ของดอยตุงให้ฟื้นคืนสู่ความสมบูรณ์ของธรรมชาติและเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของชาวเชียงรายเหมือนเดิม สนองตามพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี การฟื้นฟูและพัฒนาดอยตุง เริ่มต้นด้วยการหยุดยั้งการทำไร่เลื่อนลอย ลดการปลูกฝิ่นของชาวไทยภูเขา โดยจ้างชาวไทยภูเขามาเป็นแรงงานในการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูสภาพธรรมชาติบนดอยตุงเผยแพร่ความรู้ในการทำการเกษตรอย่างถูกวิธี แนะนำให้ปลูกพืชและพันธุ์ไม้เมืองหนาว รวมทั้งสอนอาชีพเสริมให้แก่ชาวไทยภูเขาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้สามารถพึ่งตนเองและสร้างจิตสำนึกในด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่ทุกคน
ทุกวันนี้ผืนป่าบนดอยตุงกำลังฟื้นคืนสู่ความเป็นธรรมชาติสมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ พร้อมไปกับคุณภาพชีวิตของชาวไทยภูเขาที่ดีขึ้น ผู้คนและผืนป่าได้ปรับตัวเข้าหาและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขบนดอยตุงอีกครั้ง

สิ่งน่าสนใจ
พระธาตุดอยตุง

ที่ตั้งและการเดินทาง อยู่ห่างจากทางแยกเข้าพระตำหนักดอยตุงประมาณ 7 กม. ตามเส้นทางสายเก่า และห่างประมาณ 12 กม. ตามเส้นทางสายใหม่ เมื่อถึงวัดน้อยดอยตุงจะมีทางขึ้นสู่พระธาตุดอยตุง ซึ่งสามารถขับรถขึ้นไปถึงตัวพระธาตุ แต่เส้นทางแคบและชันมาก ควรจอดรถไว้ยังที่จอดรถแล้วเดินขึ้นบันไดไปนมัสการพระธาตุจะสะดวกกว่า
จัดเป็นปฐมเจดีย์แห่งล้านนา สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราชครองนครโยนกนาคพันธ ์ เมื่อปี พ.ศ. 1454 เพื่อบรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้าที่อัญเชิญมาจากอินเดีย ต่อมาในสมัยพญามังรายแห่งราชวงศ์มังราย ได้มีพระมหาวชิรโพธิเถระนำเอาพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธ
เจ้ามาถวายอีก 50 องค์ พญามังรายจึงโปรดให้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอีกองค์ เคียงคู่กับสถูปองค์เดิม พระธาตุดอยตุงจึงมีสององค์ พ.ศ. 2470 รูบาศรีวิชัยได้บูรณะองค์พระธาตุองค์แรกขึ้นใหม่ตามศิลปะแบบล้านนา และในปี พ.ศ. 2516 ได้มีการสร้างพระธาตุองค์ใหม่ (องค์พระธาตุปัจจุบัน) ครอบพระธาตุองค์
เดิมไว้
พระธาตุดอยตุงเป็นที่เคารพสักการะญองพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อถึงเทศกาลนมัสอารพระธาตุดอยตุงจะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศใกล้เคียง เช่น ชาวเชียงตุงในรัฐฉาน ประเทศพม่า ชาวหลวงพระบาง เวียงจันทน์ ประเทศลาว เดินทางเข้ามานมัสการทุกปี

พระตำหนักดอยตุง
ข้อพึงปฎิบัติ นักท่องเที่ยวควรแต่งกายสุภาพ ไม่สวมกางเกงขาสั้นหรือเสื้อไม่มีแขน
เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อทรงงานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โปรดเกล้าฯ ให้กรมชลประทานปลูกสร้างขึ้นสำหรับประทับพักผ่อนและทรงงานปลูกป่าร่วมกับโครงการพัฒนาดอยตุง โดยครั้งหนึ่งเคยรับสั่งว่า "ฉันจะไม่สร้างบ้านอยู่ที่นี่ ถ้าไม่มีโครงการพัฒนาดอยตุง" ทั้งนี้พระตำหนักดอยตุง
สร้างขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซึ่งสมเด็จย่าและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ได้พระราชทานแนวพระราชดำริในการออกแบบสร้างตำหนัก โดยเน้นที่ความเรียบง่ายและประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ
พระตำหนักดอยตุงเริ่มดำเนินการสร้างเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระชนมายุได้ 88พรรษา โดยมีพิธีลงเสาเอก หรือที่ชาวภาคเหนือเรียกว่า "พิธีปกเสาเฮือน"เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2530

สิ่งน่าสนใจภายในพระตำหนัก ได้แก่
- พระตำหนัก เป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมล้านนา กับบ้านพื้นเมืองของสวิตเซอร์แลนต์และบ้านไม้ชงตัวอาคารมีสองชั้นและชั้นลอย ที่ประทับชั้นบนแยกออกเป็นสี่ส่วน โดยทุกส่วนจะเชื่อมถึงกันหมด เป็นอาคารหลังเดียวเสมอกับลานกว้างของยอดเนินเขา ส่วนชั้นล่างเกาะอยู่กับไหล่เนินเขาลักษณะเด่นของพระตำหนักอยู่ที่กาแลและเชิงชายแกะสลักลายเมฆไหลรอบพระตำหนัก และที่ผนังเชิงบันไดแกะเป็นตัวพยัญ
ชนะไทยพร้อมภาพประกอบ
- เพดานดาว ภายในท้องพระโรงจะเห็นเพดานดาว ทำด้วยไม้สนแกะสลักเป็นดาวกลุ่มต่างๆ ล้อมรอบระบบสุริยะจักรวาล และมีความพิเศษคือเป็นกลุ่มดาวที่แกะสลักดามองศาของวันที่ 21 ต.ค. พ.ศ. 2443 อันเป็นวันพระราชสมภพของพระองค์
- ระเบียงไม้ดอก ต้านหลังพระตำหนักดอยตงเป็นระเบียงยาว โดยขอบระเบียงมีกระบะปลูกไม้ดอก เช่น เจอเรเนียม บีโกเนีย บานไม่รู้โรย และโป็ยเซียน ฝั่งเฉลียงอันเป็นที่ประทับของสมเด็จย่าเป็นดอกไม้สีแดง ทั้งนี้เพราะพระองค์โปรดสีแดงมากส่วนเฉลียงทางห้องของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ เป็นดอกไม้สีน้ำเงินเป็นหลัก จากเฉลียงด้านหลังนี้สามารถมองเห็นสวนแม่ฟ้าหลวง ซึ่งเต็มไปด้วยดอกไม้ต้นไม้นานาพรรณ

สวนแม่ฟ้าหลวง
อยู่ด้านหน้าพระตำหนักดอยตุง เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 บนพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ สวนแม่ฟ้าหลวงได้รับการออกแบบให้มีดอกไม้ผลิบานสวยงามตลอด 365 วัน โดยจัดแต่งดอกไม้หลากหลายพันธุ์นับหมื่นดอกหมุนเวียนให้สวยงามไม่ซ้ำกันตลอดทั้งสามฤดู ประกอบกับงานประติมากรรมเด็กยืนต่อตัวโดดเด่นอยู่กลางสวน ฝีมือประติมากรชื่อดังของไทยคือคุณมีเซียม ยิบอินซอย ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อเป็นว่า "ความต่อเนื่อง" ตรงกับพระราชดำริของสมเด็จย่า
"ทำงานอะไรก็ตามจะสำเร็จได้ต้องมีความต่อเนื่อง"
ปัจจุบันภายในสวนแม่ฟ้าหลวงได้ขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 13 ไร่ โดยทำเป็นสวนหิน สวนน้ำ สวนไม้มงคล สวนปาล์ม สวนไม้ใบและสวนไม้ดอกเมืองหนาว รวมเนื้อที่ทั้งหมดเป็น 25 ไร่ภายนอกสวนได้จัดทำเป็นร้านขายของที่ระลึกของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และยังมีพันธุ์ไม้ดอกเมืองหนาวจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวด้วย

 

ร้านอาหารและกาแฟสด
ร้านอาหารบนดอยตุงขึ้นชื่อมากเรื่องสลัดผักสด มีผักเมืองหนาวให้เลือกชมหลายชนิด เช่น มะเขือเทศ โดยเฉพาะในฤดูหนาว รวมทั้งเห็ดหอมสดผัดน้ำมันหอย เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อไม่แพ้กันนอกจากนั้นนักท่องเที่ยวควรลองชิมกาแฟสดพันธุ์อาราบิก้าของดอยตุงที่มีชื่อเสียง เพราะเป็นกาแฟคุณภาพดีเยี่ยม ผ่านวิธีคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ตามมาตรฐาน การคั่วบดได้ที่ มีการทดสอบกลิ่นและรสก่อนทีจะนำมาขาย จึงมั่นใจได้ว่าได้ดื่มกาแฟที่มีรสชาติและกลิ่นดีที่สุด

สวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวง
ในอดีตบริเวณดอยช้างมูบเคยเป็นป่าอุดมสมบูรณ์มีภูมิทัศน์โดยรอบงดงามมาก แต่ถูกทำลายจากการทำไร่เลื่อนลอยและปลูกฝิ่นเช่นเดียวกับพื้นที่ส่วนใหญ่บนดอยตุง เมื่อครั้งที่สมเด็จพรัศรีนครินทราฯ เสด็จมาที่นี่เป็นเพียงภูเขาที่มีแต่หญ้าปกคลุม พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นความงดงามของพื้นที่นี้ จึงมีพระประสงค์ที่จะฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ดังเดิม
ในปี พ.ศ.2535 มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงได้สนองพระราชดำริสร้างสวนรุกขชาติพื้นที่ 250 ไร่บนดอยช้างมูบโดยรวบรวมพันธุ์ไม้พื้นเมืองและพันธ์ไม้ป่าหายากจากแหล่งต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก เช่น สวนกุหลาบพันปี กล้วยไม้ดิน พญาเสือโคร่ง และป่าสนและยังได้ทำเส้นทางเดินลัดเลาะไปตามไหล่เขาเพื่อชมต้นไม้ดอกไม้ จนไปถึงเนินสูงสุดที่มีระเบียงชมวิว มองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกลไปจนถึงชายแดนพม่าและลาว ท่ามกลางความร่มรื่นของต้นไม้ใหญ่ และธารน้ำไหลที่มีชื่อว่า "ธารน้ำพระราชหฤทัยสมเด็จย่า"นั่นหมายถึงน้ำพระทัยของสมเด็จย่าที่หลั่งรินไม่เหือดแห้งสู่ราษฎรผู้ยากไร้เปรียบประหนึ่งน้ำจากยอดดอยที่ไหลสู่ที่ราบอย่างไร้พรมแดน
บริเวณด้านหน้าของสวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวงเป็นที่ตั้งของพระสถูปช้างมูบ ปัจจุบันเหลือเพียงเจดีย์ขนาดเล็กตั้งอยู่บนก้อนหินใหญ่ ลักษณะเหมือนช้างหมอบอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่

ตลาดชาวไทยภูเขาป่ากล้วย
เป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าของชาวไทยภูเขาเผ่าอีก้อและมูเชอ สินค้าที่จำหน่ายเป็นพวกเครื่องประดับ เครื่องเงิน ย่าม เสื้อผ้าของที่ระลึก ฯลฯ

สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าดอยตุง
เป็นสวนสัตว์บนเนื้อที่กว่า 200 ไร่ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานีเพาะเลี้ยงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า โดยนำสัตว์ต่าง ๆ ทั้งที่เคยมีถิ่นอาศัยอยู่บนดอยตุงและสัตว์หายากมาเพาะเลี้ยงไว้ เช่น กวาง เก้ง เนื้อทราย หมี นกยูง ไก่ฟ้าพญาลอ นกเงือก ฯลฯ สามารถเดินดูชีวิตสัตว์ป่าเหล่านี้ได้โดยไม่เสียค่าเข้าชม

หมู่บ้านชาวไทยภูเขา
ในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงมีหมู่บ้านชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่หลายเผ่า ปัจจุบันชาวบ้านเหล่านี้ตั้งรกรากเป็นหลักแหล่ง แต่ละหมู่บ้านมีเอกลักษณ์และการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันไป บางส่วนเข้ามาทำงานและฝึกอาชีพกับโครงการพัฒนาดอยตุง ทำให้มีรายไต้และคุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของเผ่าไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

หมู่บ้านชาวไทใหญ่บ้านห้วยน้ำขุ่น
อยู่บริเวณ กม. ที่ 2 ที่นี่ถือได้ว่าเป็นประตูไปสู่สถานที่ท่องเที่ยวในโครงการพัฒนาดอยตุง เป็นหมู่บ้านของชนกลุ่มน้อยที่อพยพมาจากพม่ามาอยู่ที่บ้านห้วยน้ำขุ่นเมื่อประมาณ 30-40 ปีที่ผ่านมา

หมู่บ้านชาวจีนฮ่อบ้านห้วยไร่สามัคคี
อยู่บริเวณ กม. ที่ 3.5 เป็นหมู่บ้านชาวจีนฮ่อที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย และส่วนหนึ่งอพยพมาอยู่ที่บ้านห้วยไร่สามัคคี

หมู่บ้านอีก้อป่ากล้วย
อยู่บริเวณ กม. ที่ 12 เป็นชาวไทยภูเขาที่อยู่ในพื้นที่นี้มานานแล้ว ในอดีตประกอบอาชีพปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย ก่อนที่โครงการพัฒนาดอยตุงจะเข้ามาพัฒนาพื้นที่

ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ
ที่นี่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้แม่บ้านและสตรีชาวไทยภูเขาบนดอยตุงได้มีอาชีพเสริม โดยจัดแบ่งพื้นที่ภายในศูนย์เป็นแผนกต่างๆ เพื่อจัดจำหน่ายและผลิตสินค้า ได้แก่
- ผ้าและพรมทอกี่
- พรมทอมือ
- กระดาษสา
- โรงงานกาแฟ

 

ดอยแม่สลอง
สัมผัสหมู่บ้านชาวจีน ชิมชา ลิ้มรสอาหารจีน ชมดอกซากุระ
ดอยแม่สลองหรือดอยสันติคิรี เป็นที่ตั้งของชุมชนชาวจีนจากกองพล 93 ที่อพยพเข้ามาอยู่บนดอยแม่สลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ชุมชนบนดอยแม่สลองจึงเต็มไปด้วยบรรยากาศชีวิตและวัฒนธรรมความเป็นอยู่แบบชาวจีนแถบมณฑลยูนนาน ที่ประกอบอาชีพเกษตร
กรรม โดยปลูกชาและพืชผักเมืองหนาว ท่ามกลางทิวทัศน์ที่งดงามอากาศเย็นสบาย ตลอดจนอาหารการกินอันขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นอาหารจีนแท้ๆ ตามตำหรับอาหารจีนแถบตอนใต้

ประวัติ ในอดีตบนดอยแห่งนี้เป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่ยังชีพด้วยการทำไร่เลื่อนลอย จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เทือกดอยแถบนี้เตียนโล่งมาจนปัจจุบัน ต่อมาดอยแม่สลองเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญขึ้นในปี พ.ศ.2504 เมื่อทหารจีนอองพลที่ 93 จากมณฑลยูนนานอพยพเข้ามาอาศัยอยู่
ทหารจีนกองพล 93 ได้เดินทางเข้ามาทำการรบอยู่ในดินแดนพม่าช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะที่ทำการรบอยู่นั้น แผ่นดินจีนเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อผู้นำจีนยุคนั้นคือนายพลเจียงไคเช็ก ถูกปฏิวัติโดยพวกคอมมิวนิสต์ จนต้องหลบหนีออกจากแผ่นดินใหญ่พร้อมด้วยพลพรรคและชาวจีนผู้รักเสรีจำนวนหนึ่งไปที่เกาะฟอร์โมชา กลางทะเลจีน และประกาศเอกราชเป็นประเทศไต้หวัน โตยแยกตัวจากจีนแผ่นดินใหญ่อย่างเด็ดขาด
ผลของการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นทำให้อองพล 93 กลายเป็นทหารพลัดถิ่นที่ไม่สามารถหวนคืนสู่ประเทศของตนเองได้อีก และพม่าเองก็ไม่ยินยอมให้ทหารเหล่านั้นอาศัยบนแผ่นดินของตน จึงมีการเรียกร้องผ่านไปทางสหประชาชาติให้ช่วยขับไล่ทหารจีนกองพล93 ออกไปจากพม่า ชาวจีนบางส่วนจึงได้อพยพไปยังไต้หวัน แต่
เนื่องจากการอพยพผู้คนกินเวลานานและไม่อาจทำได้หมดในคราวเดียว พม่าจึงใช้กำลังเข้าขับไล่เพื่อให้ชาวจีนออกไปพ้นจากพื้นที่ บรรดาทหารจากกองพล 93 ที่ถูกขับไล่จึงต้องหนีเข้ามายังแผ่นดินไทยมีจำนวนหลายกองพัน ในจำนวนนั้นมีกองพันที่ 5 ซึ่งนายพลต้วนเป็นผู้นำได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ดอยแม่สลองแห่งนี้

สิ่งน่าสนใจ
ดอกซากุระ มีชื่อเรียกเฉพาะว่านางพญาเสือโคร่ง ซึ่งจะบานทุกปีในฤดูหนาว คือช่วงกลางเดือน ธ.ค. ไปจนถึงกลางเดือนม.ค. โดยนักท่องเที่ยวสามารถเห็นดอกซากุระบานอวดดอกสีชมพูสวยเต็มต้นได้ตามริมทางขึ้นดอย ซึ่งถนนสายซากุระบนดอยแม่สลองเส้นนี้ มีความยาวกว่า 4 กม.

 

 

สุสานนายพลต้วน ผ้นำทหารจีนฮ่อแห่งกองพันที่ 5 กองพล 93 เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมเยียน โดยจุดชมทิวทัศน์ของดอยแม่สลองได้อย่างกว้างไกล

 

 

พระบรมธาตุเจตีย์ศรีนครินทราสถิตมหาสันติคีรี ตั้งอยู่บนยอดดอยสูงสุดของแม่สลอง ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 4 กม.

ชุมชนชาวจีน เป็นชุมชนของครอบครัวและลูกหลานทหารกองพล 93 ที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมและวิถีชีวิตแบบชาวจีนไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

ซื้อของที่ระลึก สินค้าประเภทพืชไร่เมืองหนาว ชา กาแฟ ลูกท้อ ลูกบ๊วย เหล้า ไวน์ เครื่องยาและเครื่องปรุงอาหารต่างๆ จากเมืองจีน รวมถึงเครื่องประดับจากชาวเขาเผ่าต่างๆ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวสามารถซื้อหาติดไม้ติดมือกลับบ้านไปได้ ราคาสินค้าจัดว่าไม่แพงนักเมื่อเทียบกับคุณภาพ
สำหรับสินค้าที่ขึ้นชื่ออย่างยิ่งของดอยแม่สลอง ได้แก่ ใบชาพันธุ์ต่างๆ มีร้านขายใบชาเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปชิมอยู่หลายร้าน ร้านชิมชาเหล่านี้ส่วนมากมีไร่ชาและโรงอบชาเป็นของตนเอง

 

สามเหลี่ยมทองคำ
ล่องแม่น้ำโขง สัมผัสชายแดนสามประเทศ
มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สบรวก" เพราะเป็นจุดที่แม่น้ำรวบ ซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า มาบรรจบกับแม่น้ำโขงที่กั้นพรมแดนระหว่างไทยกับลาว บริเวณนี้จึงเป็นจุดบรรจบของพรมแดนสามประเทศ คือ ไทย ลาว และพม่า พื้นที่ฝั่งไทยคือ บ้านสบรวก ฝั่งพม่าคือ บ้านผักฮี้ ต.เมืองพง อ.ท่าขี้เหล็ก จ.เชียงตง ส่วนฝั่งลาวคือ บ้านกว๊าน เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว แต่จุดดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกพากันเดินทางมาเที่ยวที่นี่ เพราะครั้งหนึ่งสามเหลี่ยมทองคำเคยได้ชื่อว่า ดินแดนแห่งการค้าฝิ่น ในปัจจุบันไม่มีไร่ฝิ่นและการค้ายาเสพย์ติดหลงเหลืออยู่ที่สามเหลี่ยมทองคำอีกแล้ว คงเหลือเพียงทิวทัศน์ที่สงบเงียบของลำน้ำและเขตแดนของสามประเทศเท่านั้น แต่ผู้คนก็ยังคงพากันเดินทางมาสัมผัสกับตำนานของสามเหลี่ยมทองคำกันจำนวนมาก และนิยมนั่งเรือเที่ยวชมทิวทัศน์ของแม่น้ำโขงตรงจุดบรรจบของพรมแดนไทย ลาว และพม่า

ประวัติ ในอดีตสามเหลี่ยมทองคำมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เพราะดินแดนป่าเขาลี้ลับห่างไกลผู้คนนี้เป็นแหล่งเพาะปลูก แหล่งผลิตฝิ่นและเฮโรอีนแหล่งใหญ่ของโลก ทั้งยังเป็นเส้นทางลำเลียงฝิ่นและเฮโรอีนส่งไปยังทุกภูมิภาค จนทำให้สามเหลี่ยมทองคำได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรของยาเสพย์ติดที่ใหญ่ที่สุดในโลก
การปลูกฝิ่นที่สามเหลี่ยมทองคำเริ่มขึ้นในราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ต่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อชาวเขาหลายเผ่าในสามเหลี่ยมทองคำ และแพร่หลายไปทั่วโลกนับแต่นั้น

สิ่งน่าสนใจ
พิพิธภัณฑ์บ้านฝิ่น
เป็นสถานที่จัดแสดงเครื่องมือและเครื่องใช้ในการสูบฝิ่นของผู้คนในอดีต มีทั้งประวัติของสามเหลี่ยมทองคำ สถานที่ ปลูกฝิ่นการปลูกและสูบฝิ่น ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้สูบฝิ่นแสดงให้ชม ส่วนชั้นล่างของบ้านฝิ่นเป็นสถานที่ขายของที่ระลึก

 

 

พระธาตุดอยภูเข้าหรือปูเข้า
เป็นวัดเก่าแก่อยู่บนดอยเชียงเมี่ยง เป็นสถานที่ประดิษฐานพระธาตุปูเข้าหรือภูเข้า ซึ่งเป็นศาสนสถานเก่าแก่ที่ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1303 ในสมัยพญาสาวเก้าแก้วมาเมือง กษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งเวียงหิรัญนครเงินยาง ปัจจุบันพระธาตุภูเข้าเหลือเพียงกองอิฐ ที่ไม่คงรูปทรงใดๆ นอกจากบริเวณฐานเท่านั้น นอกจากนี้บนดอยเชียงเมี่ยงยังมีจุดชมวิวสามารถมองเห็นทัศนียภาพรอบสามเหลี่ยมทองคำบริเวณสบรวงได้ชัดเจน
พงศาวดารโยนกกล่าวว่า เมื่อพญาลาวเก้าแก้วมาเมืองแห่งประเทศลาวยังทรงพระเยาว์นั้น มีปูใหญ่ออกมาทำลายกัดกินพืชผลของชาวบ้านเสียหายอยู่เป็นประจำ พระบิดาของพญาลาวเก้าแก้วมาเมืองจึงสั่งให้บุตรชายออกจับ แต่ก็จับได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น อีกตัวหนึ่งหนีลงรูไปใต้ภูเขา ไม่สามารถจะจับได้ เมื่อพญาลาว
เก้าแก้วมาเมืองขึ้นครองราชย์จึงได้สร้างพระเจดีย์ภูเข้าปิดทับรูปูเอาไว้

ล่องเรือชมแม่น้ำโขง ทิวทัศน์ของแม่นำโขงบริเวณสามเหลี่ยมทองคำมีความงดงามมาก โดยเฉพาะยามเช้าที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอกทางด้านฝั่งพม่ามีจุดให้บริการนั่งเรือเที่ยวอยู่หลายจุดด้วยกัน สามารถลงเรือได้ทุกจุด เพราะราคาค่าเรือนำเที่ยวเป็นมาตรฐานที่กำหนดโดยชมรมเรือล่องแม่น้ำโขง มีรายละเอียดดังนี้
- รอบเกาะสามเหลี่ยมทองคำ ราคาเหมาลำละ 300 บาท นั่งได้ประมาณ 6 คน
- ไปเชียงแสน ราคาเหมาลำละ 400 บาท นั่งได้ประมาณ 6 คน
- ไปเชียงของ ราคาเหมาลำละ 1200 บาท นั่งได้ประมาณ 6 คน

 

เมืองโบราณเชียงแสน
ชมเมืองโบราณและพิพิธภัณฑ์
เชียงแสนเป็นเมืองเก่าแก่แห่งหนึ่งของภาคเหนือ เดิมชื่อเวียงหิรัญนครเงินยาง โดยมีโบราณสถานของเมืองโบราณเชียงแสนปรากฏเป็นหลัก ฐานอยู่ทั้งในและนอกตัวเมืองหลายแห่ง บางแห่งเป็นเนินซากอิฐรูปลักษณะเป็นพระเจดีย์หรือวิหาร และมีซากกำแพงเมืองโบราณหลงเหลืออยู่สองชั้น กรมศิลปากรได้จัดตั้งหน่วยศิลปากรที่ 4 ขึ้นเพื่อดำเนินการดูแล นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงแสนเป็นที่รวบรวมโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป พระพิมพ์เครื่องมือหิน เครื่องถ้วย ฯลฯ ที่ได้จากการสำรวจขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานในเมืองโบราณเชียงแสนและพื้นที่อื่นๆ นักท่องเที่ยวสามารถแวะสอบถามข้อมูลของเมืองโบราณเชียงแสนได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ที่ตั้งอยู่เยื้องกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงแสน

สิ่งน่าสนใจ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ปัจจุบันจัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับการตั้งหลักแหล่งของชุมชน เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคสังคมล่าสัตว์และสังคมเกษตรกรรมเรื่อยมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีการจัดจำแนกโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานในเมืองเชียงแสนเป็นกลุ่ม ๆ ตามแหล่งที่ขุดพบ พื้นที่จัดแสดงแบ่งออกเป็นสามส่วน ตังนี้
- อาคารจัดแสดงหลักชั้นล่าง มีห้าหัวเรื่อง ได้แก่ ภูมิสถานเมืองเชียงแสน ประวัติศาสตร์และการตั้งถิ่น
ฐานของเมืองเชียงแสน วัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในสังคมล่าสัตว์และสังคมเกษตรกรรม
- ลวดลายปูนปั้นจากวัดป่าสัก
- พระพุทธรูปศิลปะล้านนาเมืองเชียงแสน
- จารึกที่พบในเมืองเชียงแสนและพื้นที่ใกล้เคียง
- พัฒนาการของเครื่องถ้วยล้านนาใน จ. เชียงราย
- โบราณสถานที่สำคัญในเมืองเชียงแสน
- โบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นและขุดแต่งทางโบราณคดีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 จนถึงปัจจุบัน ทั้งในเมืองเชียงแสนและพื้นที่อื่น ๆ ใน จ. เชียงราย เช่น พระพุทธรูป เครื่องประดับ แผ่นอิฐ
มีจารึก เครื่องสำริด ฯลฯ
- อาคารส่วนขยาย จัดแสดงเกี่ยวกับชาติพันธุ์วิทยา มีสามเรื่อง ได้แก่
- ชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชนแถบลุ่มแม่น้ำโขง จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนในอดีต เช่น กี่ทอผ้า ผ้าโบราณ เครื่องมือจับปลา เครื่องครัว เงินตรา ฯลฯ
- เมืองเชียงแสนในอดีต กล่าวถึงการพัฒนาของเมืองในอดีต มีการจัดแสดงศิลปะพื้นบ้านของชาวไทใหญ่ ไทลื้อ และชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องเงิน เครื่องดนตรี เครื่องประดับ อุปกรณ์การสูบฝิ่น
- ศาสนาและความเชื่อ จัดแสดงศิลปโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องในศาสนา ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณี นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงแสนยังให้บริการข้อมูล ตลอดจนสื่อการเรียนการสอน บริการนำชมและบรรยายทั้งในและนอกสถานที่ จำหน่ายหนังสือทางวิชาการด้านศิลปะโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และโปสการ์ด

วัดเจดีย์หลวง
สร้างโดยพระเจ้าแสนภูเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 19 กลุ่มโบราณสถานของวัดเจดีย์หลวงประกอบด้วย เจดีย์ประฉานทรงระฆังแบบล้านนา ฐานสูงแปดเหลี่ยม ด้านทิศตะวันออกเป็นพระวิหาร โดยรอบเป็นเจดีย์รายแบบต่าง ๆ 4 องค์ และซุ้มประตูกำแพงวัดเหลือหลักฐานด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศตะวันตก

 

วัดป่าสัก
สร้างโดยพระเจ้าแสนภูเมื่อ พ.ศ. 1838 พื้นที่ทั้งหมดของวัดประมาณ 16 ไร่ ประกอบด้วยโบราณสถานต่าง ๆ จำนวน 22 แห่ง สิ่งก่อสร้างสำคัญที่สุดคือ เจดีย์ประธานทรงมณฑปยอดระฆังตกแต่งลวดลายปูนปั้นอันวิจิตร อันถือกันว่าเป็นฝีมือช่างชั้นครู รูปแบบเจดีย์ประฉานนี้ได้รับอิทธิพลมาจากแคว้นหริภุญไชย (เจดีย์เชียงยืนและเจดีย์กู่กด จ.ลำพูน) ตกแต่งลวดลายซุ้มฝักเพกาลายประจำยาม และลายกาลมกรแบบพุกาม ประติมากรรมรูปมารแบกแบบชวาหรือทวารวดี ส่วนรูปเทวดาและพระพุทธรูปแบบต่างๆ นั้นเป็นลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น

 

 


วัดพระเจ้าล้านทอง
สร้างขึ้นในสมัยพระยาศรรัชฏาเงินกองหรือพระเจ้าทองั่ว เมื่อปี พ.ศ. 2032 โดยให้หล่อพระพุทธรูปมีน้ำหนักล้านทอง (1200 กก.) ขึ้นมาพร้อมกัน เป็นพระประสานหน้าตักกว้าง 2 ม. สูง 3 ม. เศษ เรียกว่าพระเจ้าล้านทอง จึงเรียกว่าวัดพระเจ้าล้านทองมาจนทุกวันนี้ ภายในวัดมี พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปทองเหลืองที่มีพระพักตร์งดงามมาก เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง 1 ศอก 15 นิ้ว สูง 2 ศอก 10 นิ้ว ได้จากวัดทองทิพย์ซึ่งเป็นวัดร้างและเป็นที่มาของชื่อพระพุทธรูป

วัดพระธาตุจอมกิตติ
บริเวณบันไดตอนล่างเป็นที่ตั้งของเจดีย์ทรงมณฑปขนาดเล็กสององค์ ก่อนถึงพระธาตุฯ เป็นที่ตั้งของเจดีย์จอมแจ้ง ลักษณะของเจดีย์พระธาตุจอมกิตติเป็นทรงมณฑปรุ่นหลัง ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าพังคราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารริกธาตุ ต่อมาในปี พ.ศ. 2030 หมื่นเชียงสงได้ก่อสร้าง
เจดีย์ครอบทับองค์เดิม ปัจจุบันพระธาตุฯ ได้รับการบูรณะเสริมความมั่นคงและปิดแผ่นทองใหม่

วัดพระธาตุผาเงา
มีเจดีย์ประฉานทรงระฆังขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนหินก้อนใหญ่โดยใช้คติการก่อสร้างเดียวอับเจดีย์พระสาตอินแขวนของพม่าวิหารปัจจุบันสร้างทับวิหารเดิม และมีการขุดพบพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะแบบเชียงแสนที่มีความงดงามมาก บนยอดเขาด้านหลังวัดเป็นที่ตั้งของพระบรมธาตุพุทธนิมิตรเจดีย์ จากจุดนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สองฝั่งโขงได้งดงามมาก